08 22 ออฟฟิศซินโดรม สัญญาณเตือนให้ดูแลสุขภาพ

12 กันยายน 2567 13:20 น.

วัยทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ตลอดวัน ทำงานนานๆ โดยไม่เปลี่ยนท่านั่งหรือขยับตัว อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็น ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด รวมถึงปวดหรือชาจากการอักเสบของเนื้อเยื่อ 

  •  การนั่งไขว่ห้าง นั่งตัวงอ หรือก้มหน้านานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งหรือยืดค้างซ้ำๆ บ่อยๆ จนกล้ามเนื้อบาดเจ็บ หรือเป็นก้อนตึง จนเกิดอาการปวดตามมาในที่สุด
  • ​ เนื่องจากกล้ามเนื้อมีลักษณะเป็นเส้นใยเชื่อมต่อกันหลายส่วน พอมีอาการปวดตึงจุดหนึ่ง หากปล่อยไว้ก็อาจปวดจุดอื่นร่วมด้วย เพราะถูกดึงรั้งจากกล้ามเนื้อส่วนที่หดเกร็ง

​ หากไม่รักษา ไม่ปรับพฤติกรรม อาจก่อให้เกิดอาการอื่นตามมา เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง มือนิ้วชา ตาพร่ามัว กรดไหลย้อน นอนไม่หลับ รวมถึงอาการรุนแรงอย่างหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังคด เป็นต้น

แนวทางการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม 

  •  ปรับสภาพแวดล้อมการทำงานให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ (Ergonomic) ปรับอุปกรณ์ที่ใช้ ทั้งโต๊ะ เก้าอี้ จอคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ ให้เหมาะกับร่างกายของเรา
  • ​ ออกกำลังกาย ด้วยท่าทางที่เหมาะสม 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งการยืดและเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ เช่น โยคะ พิลาทิส เดินเร็ว ยกเวท หรือท่าบริหารร่างกายอื่นๆ รวมถึงกายภาพบำบัด
  • ​ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ได้สารอาหารครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูอย่างมีประสิทธิภาพ

 

​ด้วยลักษณะการทำงานออฟฟิศในปัจจุบัน อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานได้ยาก เพราะต้องโฟกัสกับงานที่ทำ หรือยุ่งจนลืมหยุดพัก อย่างไรก็ตาม ร่างกายที่แข็งแรงและจิตใจที่ผ่อนคลายจะช่วยให้ทำงานได้เต็มที่ ฉะนั้น ลองเริ่มต้นดูแลร่างกายให้ห่างไกลออฟฟิศซินโดรม ด้วยการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม สร้างความสุขในการทำงานและชีวิตประจำวัน 


#wellnesswecare #healthcamp #เวลเนสวีแคร์ #รักสุขภาพ #แค้มป์สุขภาพ #แค้มป์สุขภาพดีด้วยตัวเอง #goodhealthbyyourself #officesyndrome #ghby #moby #pbwf #plantbased #vegan #องค์กรสุขภาพดี #สุขภาพดีด้วยตัวเอง #healthylifestyle #goodhealth #ออฟฟิศซินโดรม #วีแคร์สหคลินิก

Loading...